พิธีรับน้องใหม่


      ประเพณีการรับน้องใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยได้รับการสถาปนาแล้ว 6 ปี โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ.2493 พิธีรับน้องใหม่เป็นไปอย่างเรียบง่าย คือ การให้น้องใหม่ไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟหัวลำโพงแล้วมาลงที่สถานีรถไฟบางเขน ซึ่งจะมีรุ่นพี่ไปรอรับที่นั่นแล้วพาน้องใหม่เดินขบวนข้ามทางรถไฟที่เส้นขนานที่ 38 เข้ามาสู่ภายในมหาวิทยาลัยแล้วมายังห้องพิธีที่จัดเตรียมไว้มีการสัมภาษณ์น้องใหม่กันเล็กน้อยก่อนที่จะมาร่วมรับประทานอาหารกันที่ชั้นล่างของตึกเขียวหรือเรือนเขียว

ตึกพักชายที่ ๕

ตึกพักชายที่ ๕

ตึกพักชายที่ ๕

ตึกพักชายที่ ๕



      ในช่วงปี พ.ศ. 2486 – 2500 เป็นยุคของการนำระบบโซตัส (SOTUS) มาใช้ เนื่องจากจำนวนนิสิตของ มก. ในเวลานั้นยังมีน้อย นิสิตทุกคนอยู่หอพักของมหาวิทยาลัยทั้งหมดการต้อนรับน้องใหม่ และการปกครองกันเองของนิสิตจึงมีปัญหาไม่มากนักและค่อนข้างได้ผลตามวัตถุประสงค์ของระบบ SOTUS ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก



ประเพณีชิงธง


      เป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันสุดท้ายของการรับน้องใหม่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรุ่นพี่จะให้น้องใหม่ผู้ชายร่วมกันปีนขึ้นไปชิงธงสีเขียวที่ผูกไว้ปลายเสาลงมาให้ได้ผู้ที่สามารถนำธงสีเขียวลงมาได้เรียกว่า “วีรบุรุษ” (ฮีโร่)

      ประเพณีชิงธง นี้เป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม โดยนิสิตชายชั้นปีที่ 1จะต้องร่วมมือกัน มีการวางแผนร่วมกันว่าจะปีนขึ้นไปชิงธงสีเขียวที่ปักอยู่บนยอดเสาได้อย่างไร เพราะมีอุปสรรคในการปีนคือเสาทรงกลมที่สูงมาก ซึ่งชโลมน้ำมันหรือทาด้วยจารบีตั้งแต่โคนเสาจนถึงยอดเสา และที่โคนเสายังมีนิสิตชายชั้นปีที่ 2 ล้อมรอบอยู่เป็นจำนวนมาก คอยป้องกันไม่ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าถึงโคนเสา นิสิตหญิงชั้นปีที่ 1 ทำหน้าที่เป็นกองเชียร์ นิสิตชายชั้นปีที่ 1 จะต้องรวมตัวกันทำลายกำแพงพี่ชั้นปีที่ 2 ให้ได้ เมื่อเข้าถึงโคนเสาจะต้องเกาะกันเป็นฐานรอบโคนเสาให้เพื่อนเหยียบตัวต่อกันเป็นชั้นๆ ขณะเดียวกันเพื่อนๆ ข้างล่างจะถอดเสื้อโยนขึ้นไปโปะเสาเพื่อเช็ดจารบีออกให้ได้มากที่สุด จนกว่าจะมีใครคนใดคนหนึ่งที่มีความแข็งแรงปีนจนถึงยอดเสาและปลดธงสีเขียวลงมาได้ ผู้นั้นจะได้เป็นวีรบุรุษ (ฮีโร่) ประเพณีชิงธงนี้สอนให้ทุกคนต้องช่วยเหลือกัน ร่วมมือกัน มีความเสียสละ ไม่แก่งแย่งชิงกันเป็นฮีโร่ ต้องยอมเป็นฐานให้เพื่อนเหยียบเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม



Copyright © 2019 Archives of Kasetsart University