ประวัติความเป็นมาของหอพักนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


      ในอดีตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีพื้นที่เป็นทุ่งนาห่างไกลจากเมือง สภาพแวดล้อมโดยรอบยังเป็นทุ่งนาซึ่งเรียกในสมัยนั้นว่า “ทุ่งบางเขน” นิสิตของมหาวิทยาลัยทุกคนต้องอยู่หอพักเพราะมหาวิทยาลัยอยู่ไกล การเข้าถึงนั้นลำบาก และนิสิตจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับพืชและสัตว์ การพักอาศัยอยู่ในมหาวิทยาลัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นมหาวิทยาลัย จึงจัดสร้างหอพักเพื่อเป็นสวัสดิการและอำนวยความสะดวกให้แก่นิสิต

ภาพทางอากาศเมื่อปี ๒๔๘๓

ภาพทางอากาศเมื่อปี ๒๔๘๓

ผังบริเวณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรื เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๖

ผังบริเวณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตรื เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๖

      มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สร้างหอพักชายเรือนไม้เริ่มแรกทั้งหมด ๕ หลัง คือ หอ ๑ – หอ ๕ และสร้างเพิ่มอีก ๔ หลัง คือ หอ ๖ – หอ ๙ สร้างเป็นแนวเรียงกันตามแนวถนน (ถนนระพีสาคริก ในปัจจุบัน) ลักษณะเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น มีมุขยื่นออกมา ชั้นล่างเป็นห้องโล่ง มีตู้เก็บของให้นิสิตคนละ ๑ ตู้ มีโต๊ะยาวกลางห้อง ๒ – ๓ โต๊ะ สำหรับใช้ดูหนังสือและเป็นที่รีดผ้า ชั้นบนมีห้องโถงใหญ่จุเตียงนอนประมาณ ๒๓ – ๒๕ เตียง ทุกเตียงมีมุ้งเพราะไม่มีมุ้งลวด มีห้องเดี่ยวอยู่หน้ามุข ๒ ห้อง ด้านซ้ายและขวาของบันไดเป็นห้องของหัวหน้าหอและรองหัวหน้าหอ มีห้องน้ำรวมและโรงอาหารด้านหลังหอพัก น้ำบริโภคใช้น้ำฝนที่รองใส่แท็งก์ไว้ ห้องอาบน้ำไม่มี นิสิตใช้คูน้ำ (ซึ่งขุดเอาดินขึ้นมาถมถนน) หน้าหอในการอาบน้ำและซักผ้า มีอาจารย์ดูแลนิสิตและหอพักโดยตรง ๒ ท่าน เรียกว่า อนุสาสก กิจวัตรประจำวันหลังเลิกเรียนนิสิตส่วนใหญ่จะมาเล่นกีฬากันบริเวณลานโล่งหน้าหอ รับประทานอาหารเย็น เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๘.๐๐ น. และเข้าพักในหอจนถึงเวลา ๔ ทุ่ม ก็ดับไฟเข้านอนอย่างพร้อมเพรียง

ใต้ร่มนนทรี

ใต้ร่มนนทรี

ใต้ร่มนนทรี

ใต้ร่มนนทรี

      ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๙๒ มหาวิทยาลัยมีนิสิตเป็นชายล้วน จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๓ จึงมีนิสิตหญิงเข้ามาศึกษาเป็นรุ่นแรก ที่พักของนิสิตหญิงจะพักรวมกับศาสตราจารย์ คุณชวนชม จันทระเปารยะ (ท่านอาจารย์เป็นผู้ดูแลนิสิตหญิงตั้งแต่เริ่มแรกจนเกษียณ) เรียกว่า หอ ๑๐ก เมื่อมีนิสิตเพิ่มมากขึ้นจึงขยายหอพักไปบ้านพักอาจารย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ซึ่งท่านเกษียณราชการ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เรียกว่าหอ ๑๐ข และปีต่อๆ มามหาวิทยาลัยได้งบประมาณสร้างตึกพักหญิง ๙ หลัง ซึ่งเป็นชื่อของดอกไม้ทั้งสิ้น คือ ตึกบุษกร ขจรรัตน์ คัทลียา ราชาวดี ขจีนุช พุทธรักษา มหาหงษ์ ชงโค และชวนชม ส่วนหอ ๑๐ก และ ข ได้ถูกรื้อถอนออกไป




      ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยรับนิสิตเพิ่มมากขึ้น จึงได้สร้างตึกพักชายเพิ่มขึ้นอีกหลายหลัง เช่น ตึกพักชาย ๓, ๔, ๕, ๘ – ๑๕ และหอไม้อีก ๕ หอ คือ หอพักชาย ๑๑ – ๑๕ พอใช้งานมาได้สักระยะหนึ่งมหาวิทยาลัยได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนทางกายภาพ หอพักชายบางหลังได้ถูกรื้อถอน เพื่อนำพื้นที่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น บางหลังได้เปลี่ยนไปเป็นที่ทำงานของหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยและชมรมกิจกรรมของนิสิต



      ในปัจจุบันมีหอพักนิสิตชายที่ยังใช้เป็นหอพักอยู่ จำนวน ๗ หลัง มีดังนี้



แผนผังบริเวณหอพักชาย


Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕


Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕

Paris

ตึกพักชายที่ ๕



Copyright © 2019 Archives of Kasetsart University